# 84 ครูโปรแกรมเมอร์ประจำโรงเรียน
30 เมษายน 2550 - 6 พฤษภาคม 2550
ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ครูในประเทศไทยจากทุกโรงเรียนกว่า 30,000 โรงเรียน ต่างมีภารกิจที่ต้องเดินทางไปอบรมสัมมนา เพื่อก้าวสู่การเป็นแม่พิมพ์ชั้นหนึ่งของชาติ โครงการส่วนใหญ่มีการวางแผนอย่างรัดกุมโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจากต้นสังกัด คัดสรรวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ สถานที่ที่เหมาะสม รวมถึงจัดหางบประมาณมารองรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อสร้างต้นแบบบุคลากรทางการศึกษา และกลับไปพัฒนาสถาบันของตนให้เป็นศูนย์กลางความรู้ประจำท้องถิ่น สำหรับผลการพัฒนาแม่พิมพ์ของชาติจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ท้องถิ่น และนำประเทศไปสู่การเป็นสังคมอุดมปัญญาในที่สุด
กลุ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูกับไอที เน้นการพัฒนาให้ครูสามารถสร้าง และใช้ประโยชน์จากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเลินนิ่ง (e-Learning) อีด๊อกคิวเม็น (e-Document) อีพอร์ทโฟลิโอ (e-Portfolio) จนนำไปใช้ส่งเสริมการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด พัฒนาให้ครูสามารถสร้างอีบุ๊คที่เป็นสื่อการสอนในแบบสื่อผสมที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นไปตามแผนการสอน ทำสำเนาได้ตามต้องการ เผยแพร่ได้กว้างไกล นำกลับมาแก้ไขได้ทุกเวลา และง่ายต่อการทำความเข้าใจของนักเรียนกว่าสื่อแบบเดิม พัฒนาครูให้สามารถใช้ประโยชน์จากไอทีเพื่อการบริหาร นำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ ช่วยในการสื่อสาร เป็นต้น
การพัฒนาครูโปรแกรมเมอร์ ทำให้ครูสามารถกลับไปพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของนักเรียน ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง และท้องถิ่น เมื่อครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องก็จะมีความชำนาญสามารถพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น หรือนักเรียนให้สามารถพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้งานได้ ถ้าเรียนรู้ และพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตก็จะเกิดประโยชน์ในวงกว้าง ถ้าผู้พัฒนาเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ในภายหลังต่อจากการที่เคยเป็นผู้รับโอเพนซอร์ท (Open Source) ในระยะเริ่มต้นเรียนรู้ จะทำให้ผลงานของผู้พัฒนามีคุณค่าขึ้น เพราะโปรแกรมมากมายสามารถนำไปเผยแพร่ หรือหาดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต แล้วนำมาปรับปรุงโดยผู้ใช้ โปรแกรมเหล่านั้นจะไม่สูญหายไปจากโลก เช่น student44, oscommerce, moodle, learnsquare, phpbb, mambo, postnuke หรือ joomla เป็นต้น
การพัฒนาครูโปรแกรมเมอร์ ทำให้ครูสามารถกลับไปพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของนักเรียน ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง และท้องถิ่น เมื่อครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องก็จะมีความชำนาญสามารถพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น หรือนักเรียนให้สามารถพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้งานได้ ถ้าเรียนรู้ และพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตก็จะเกิดประโยชน์ในวงกว้าง ถ้าผู้พัฒนาเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ในภายหลังต่อจากการที่เคยเป็นผู้รับโอเพนซอร์ท (Open Source) ในระยะเริ่มต้นเรียนรู้ จะทำให้ผลงานของผู้พัฒนามีคุณค่าขึ้น เพราะโปรแกรมมากมายสามารถนำไปเผยแพร่ หรือหาดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต แล้วนำมาปรับปรุงโดยผู้ใช้ โปรแกรมเหล่านั้นจะไม่สูญหายไปจากโลก เช่น student44, oscommerce, moodle, learnsquare, phpbb, mambo, postnuke หรือ joomla เป็นต้น